ใบงานที่ 2
ใบงานที่ 2 การเเบ่งประเภทของระบบปฏิบัติการ
จัดทำโดย นาย ธนาธิป เล็กกุล รหัสนักศึกษา 6031280003
ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว ( stand – alone OS )
ความหมาย
เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือโน้ตบุคคอมพิวเตอร์
สามารถรองรับผู้ใช้งานเพียงคนเดียว
กล่าวคือเป็นระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานโดยไม่มีการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น
แต่ปัจจุบันระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยวได้ขยายขีดความสามารถให้รองรับการเชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายได้
ลักษณะการทำงาน
เป็นระบบปฏิบัติการที่มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้เพียงคนเดียว
(เจ้าของเครื่องนั้น ๆ)
นิยมใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลและทำงานแบบทั่วไป เช่น
เครื่องคอมพิวเตอร์ตามบ้านหรือสำนักงาน
ซึ่งจะถูกติดตั้งระบบปฏิบัติการนี้รองรับการทำงานบางอย่าง เช่น พิมพ์รายงาน
ดูหนัง ฟังเพลง หรือเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
ปัจจุบันพัฒนาให้มีคุณสมบัติที่เป็นลูกข่ายเพื่อขอรับบริการจากเครื่องแม่ข่ายได้ด้วยเเละนิยมใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลและทำงานแบบทั่วไป เช่น
เครื่องคอมพิวเตอร์ตามบ้านหรือสำนักงาน
ซึ่งจะถูกติดตั้งระบบปฏิบัติการนี้รองรับการทำงานบางอย่าง เช่น พิมพ์รายงาน
ดูหนัง ฟังเพลง หรือเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
ปัจจุบันพัฒนาให้มีคุณสมบัติที่เป็นลูกข่ายเพื่อขอรับบริการจากเครื่องแม่ข่ายได้ด้วย
อะไรคือระบบปฏิบัติการที่แท้จริง
อะไรคือระบบปฏิบัติการที่แท้จริง
ลักษณะของฮาร์ดเเวร์ที่ใช้
printer,work pc,notebook
DOS (Disk Operating System) เป็นระบบปฏิบัติการซึ่งได้มีการพัฒนาขึ้นเมื่อประมาณปี 1980 เพื่อใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นหลัก ทำงานโดยใช้การป้อนชุดคำสั่งที่เรียกว่า command- line ซึ่งต้องป้อนข้อมูลทีละบรรทัดเพื่อให้เครื่องทำงานตามคำสั่งนั้น ๆ ได้ ผลิตขึ้นมาครั้งแรกมีชื่อเรียกว่า PC-DOS เพื่อใช้กับเครื่องของบริษัทไอบีเอ็ม ภายหลังเมื่อคอมพิวเตอร์ได้รับความนิยมมากขึ้นจนเกิดเครื่องที่ผลิตขึ้นมาเลียนแบบอย่างมากมายคล้ายกับเครื่องของไอบีเอ็ม (IBM compatible ) บริษัทไมโครซอฟต์ซึ่งมีทีมงานที่เคยผลิต PC-DOS ให้กับไอบีเอ็มมาก่อนจึงได้ทำระบบปฏิบัติการแบบใหม่ออกมาเป็นของตนเองและเรียกชื่อใหม่ภายหลังว่า MS-DOS นั่นเอง
Windows การทำงานที่ต้องคอยป้อนคำสั่งทีละบรรทัดเพื่อเรียกทำงานในระบบปฏิบัติการแบบ DOS นั้น สำหรับผู้ใช้ที่ไม่มีความรู้และความชำนาญเพียงพอ มักจะจดจำรูปแบบคำสั่งต่าง ๆ ในการใช้งานได้ไม่ค่อยดีนัก บริษัทไมโครซอฟต์จึงได้นำเอาแนวคิดของระบบการใช้งานที่เรียกว่า GUI (Graphical User Interface) ซึ่งมีผู้คิดค้นขึ้นก่อนหน้านั้นไม่นานนักมาใช้ในระบบปฏิบัติการตัวใหม่ที่มีชื่อว่า Windows เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ส่งผลให้ผู้ใช้และระบบปฏิบัติการสามารถทำงานงานร่วมกันได้คล่องตัวมากยิ่งขึ้น เพราะเป็นการนำเอารูปแบบของสัญลักษณ์ที่เป็นภาพกราฟิกเข้ามาแทนการป้อนข้อมูลคำสั่งทีละบรรทัดโดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจดจำคำสั่งต่าง ๆ ก็สามารถใช้งานได้โดยง่าย
Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่มักใช้กับผู้ที่มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ค่อนข้างมาก รองรับกับการทำงานของผู้ใช้ได้หลาย ๆ คนพร้อมกัน ( multi-user ) การปรับเปลี่ยนและแก้ไขระบบต่าง ๆ มีความยืดหยุ่นในการทำงานได้ดีกว่า ปัจจุบันมีการพัฒนาระบบที่สนับสนุนให้ใช้งานได้ทั้งแบบเดี่ยวและแบบเครือข่าย
Mac OS X เป็นระบบปฏิบัติการที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทแอปเปิ้ลโดยเฉพาะเท่านั้น ซึ่งเน้นการใช้งานประเภทสิ่งพิมพ์ กราฟิก และศิลปะเป็นหลัก รุ่นก่อนหน้านี้จนถึง Mac OS 9 เป็นระบบปฏิบัติการแบบเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร แต่รุ่น OS X (X คือเลข 10 แบบโรมัน) ได้รับการพัฒนามาจากระบบปฏิบัติการแบบ UNIX แต่ก็ยังเป็นแบบเฉพาะตัวอยู่ คือเครื่องของบริษัทอื่นหรือที่ประกอบขึ้นมาเองไม่สามารถที่จะใช้ระบบปฏิบัติการตัวนี้ได้ เนื่องจากใช้ระบบการประมวลผลที่ไม่เหมือนกัน ทั้งนี้รูปแบบและการทำงานต่าง ๆ ของ Mac OS X จะมีระบบสนับสนุนแบบ GUI เช่นเดียวกันกับระบบปฏิบัติการ Windows (และความจริงใช้มาก่อน Windows เสียด้วยซ้ำ)
Linux เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมมากเช่นเดียวกัน เนื่องจากเปิด ให้ใช้รวมถึงพัฒนาต่อยอดเพื่อแก้ไขชุดคำสั่งต่าง ๆ ได้ฟรี ในปัจจุบันหลาย ๆ ประเทศได้พยายามส่งเสริมให้มีการใช้ระบบปฏิบัติการตัวนี้อย่างต่อเนื่องเพื่อลดปัญหาการขาดดุลการค้า เนื่องจากการนำเข้าซอฟต์แวร์จากต่างประเทศ (ระบบปฏิบัติการเป็นสินค้าประเภทหนึ่งที่สามารถผลิตขึ้นมาเพื่อจำหน่ายได้ทั่วโลกเช่นเดียวกับสินค้าประเภทอื่น ๆ ซึ่งหากความต้องการในประเทศมีมาก อาจจำเป็นต้องสั่งเข้าในปริมาณที่มากตามไปด้วย) รวมทั้งเพื่อลดปัญหาในประเด็นของความมั่นคงที่จะไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีของต่างประเทศ อันได้แก่สหรัฐอเมริกาด้วย
Mac OS X
เป็นระบบปฏิบัติการที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทแอปเปิ้ลโดยเฉพาะเท่านั้น ซึ่งเน้นการใช้งานประเภทสิ่งพิมพ์ กราฟิก และศิลปะเป็นหลัก Mac OS X อ่านว่า แมคโอเอส เทน (ตัว X แทนหมายเลข 10 ของตัวเลขโรมัน) เป็นระบบปฏิบัติการ ของเครื่อง Macintosh ที่ออกแบบมาให้มีเสถียรภาพสูง ใช้งานง่ายหากสังเกตุก็จะพบว่าหน้าจองของ Mac OS X นั้นเกลี้ยงเกลา ไม่มีอะไรให้รกหูรกตา มีปุ่มหรือเครื่องมือเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น หน้าจอถึงดูสะอาด เรียบหรู และดูดี
ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย ( Network OS )
ความหมาย
ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย ( network OS ) เป็นระบบปฏิบัติการที่มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้หลาย ๆ คน ( multi - user ) นิยมใช้สำหรับงานให้บริการและประมวลผลข้อมูลสำหรับเครือข่ายโดยเฉพาะ มักพบเห็นได้กับการนำไปใช้ในองค์กรธุรกิจทั่วไป เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการเหล่านี้เรียกว่า เครื่อง server ซึ่งเป็นเสมือนเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับผู้ใช้นั่นเอง
ลักษณะการทำงาน
1.1 บริการไฟล์ข้อมูลและการพิมพ์ (File and Print Services)
การทำงานระดับพื้นฐานของระบบปฎิบัติการเครือข่าย คือการให้บริการในการแชร์เครื่องพิมพ์ ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับหน่วยงานหรือองค์กรทั้งท่อยู่ในรูปแบบของเครือข่ายแบบมีสายหรือเครือข่ายแบบไร้สาย รวมถึงความสามารถในการให้บริการพื้นที่ในการจัดเก็บไฟล์ข้อมูล และบริหารจัดการในการเข้าใช้โดยการระบุสิทธิในการเข้าถึงไฟล์ข้อมูลเข้าถึงเครื่องพิมพ์ตามความสำคัญ
หรืออำนาจหน้าที่ของผู้ใช้t
1.2 บริการดูแลจัดการระบบ (Mangement Services)การทำงานระดับพื้นฐานของระบบปฎิบัติการเครือข่าย คือการให้บริการในการแชร์เครื่องพิมพ์ ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับหน่วยงานหรือองค์กรทั้งท่อยู่ในรูปแบบของเครือข่ายแบบมีสายหรือเครือข่ายแบบไร้สาย รวมถึงความสามารถในการให้บริการพื้นที่ในการจัดเก็บไฟล์ข้อมูล และบริหารจัดการในการเข้าใช้โดยการระบุสิทธิในการเข้าถึงไฟล์ข้อมูลเข้าถึงเครื่องพิมพ์ตามความสำคัญ
หรืออำนาจหน้าที่ของผู้ใช้t
ทำหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เครือข่าย และสมาชิกหรือผู้ใช้ หรือการเชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นการตรวจสอบข้อผิดพลาดและการเฝ้าระวัง บริการดูแลจัดการระบบของระบบปฎิบัติการเครื่อข่าย จะใช้ลดการซ้ำซ้อนและการทำให้การบริการดูแลจัดการระบบยิ่งง่ายขึ้น
1.3 บริการรักษาความปลอดภัย (Security Services)
ปัจจุบันระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะระบบที่มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยแล้ว จะมีความเสี่ยงรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและระบบ ที่อาจจะถูกรบกวนจากบุคคลภายนอก หรือแม้กระทั้งการจัดการกำหนด สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลให้กำผู้ใช้งานในองค์กรเอง ระบบปฎิบัติการเครือข่ายที่ดีจึงควรมีฟังชั่นรักษาความปลอดภัยข้อมูลในเครือข่าย รวมถึงฟังก์ชั่นในการกำหนดสิทธิของผู้ใช้และกลุ่มผู้ใช้งานเข้าถึงข้อมูลด้วย
1.4 บริการอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต (Internet and Intranet Services)
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานหรือองค์กรปัจจุบัน ส่วนมากต้องมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรืออย่างน้อยก็จะทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ให้บริการอินทราเน็ตรวมอยู่ด้วย ดังนี้นระบบปฎิบัติการเครือข่าย จะต้องมีบริการด้านอินเทอร์เน็ต เพื่อรับรองบริการฟังก์ชั่นดังกล่าว เช่น DNS Server, Web Server, Mail Server และ Ftp Server เป็นต้น
1.5 บริการมัลติโพรเซสซิงและคลัสเตอริง (Multiprocessing and Clustering Services)
มัลติโพรเซสซิ่ง : Multiprocessing ถือได้ว่าเป็นระบบมัลติโปรเซสเซอร์ คือ ระบบที่มี CPU มากกว่าหนึ่งตัวในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรือเครื่องเซิร์ฟเวอร์ การที่เซิร์ฟเวอร์มี CPU หลายตัวจะช่วยนการทำงานของ Application ที่ทำงานบนระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นหากระบบปฎิบัติการเครือข่ายและ Application ดังกล่าวรับรองบริการมัลติโปรเซสซิ่ง
คลัสเตอริง : Clustering ในการให้บริการเครือข่ายหากต้องการเพื่องประสิทธิภาพในการทำงาน
ของระบบโดยรวมแล้ว บริการคลัสเตอริ่ง เป็นรูปแบบที่เครื่องแม่ข่ายหรือเซิร์ฟเวอร์มีจำนวนหลายๆเครื่อง มาช่วยกันทำงานงานใดงานหนึ่ง หรือหลายๆงาน จะช่วยให้ประสิทธิภาพของระบบดีขึ้น ทั้งในด้านทำงานในรูปแบบการให้บริการแทนกันได้ หากมีเครื่องใดเครื่องหนึ่งมีปัญหา หรือการแบ่งงานจากเครื่องอื่นท่รับรองงานมากเกินไป
ลักษณะของฮาร์ดเเวร์ที่ใช้
อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายขนาดเล็ก ได้แก่ การ์ดแลน ฮับ สวิตช์ โมเด็ม เราเตอร์ สายสัญญาณ
ตัวอย่างระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย มีดังต่อไปนี้
1.Windows Server
เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับระบบเครือข่ายโดยเฉพาะ
รุ่นแรกออกมาในชื่อ Windows NT และพัฒนาต่อมาเป็น Windows 2000
และรุ่นล่าสุดคือ Windows Server 2003
ผลิตออกมาเพื่อรองรับกับการใช้งานในระดับองค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง
พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์
ส่วนใหญ่เหมาะกับการติดตั้งและใช้งานกับเครื่องประเภทแม่ข่าย (Server )
2.OS/2 Warp Server
เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายอีกรูปแบบหนึ่ง
ออกแบบมาสำหรับการใช้งานคอมพิวเตอร์แบบเครือข่ายสำหรับองค์กรได้เป็นอย่างดี
พัฒนาโดยบริษัทไอบีเอ็มเพื่อใช้เป็นระบบที่ควบคุมเครื่องแม่ข่ายหรือ
Server เช่นเดียวกัน แต่ไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่หวัง
และเลิกพัฒนาต่อไปแล้ว
3.Solaris เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่อยู่ในตระกูลเดียวกับระบบปฏิบัติการ
Unix (Unix compatible) พัฒนาขึ้นโดยบริษัทซัน ไมโครซิสเต็มส์
สามารถรองรับการทำงานแบบเครือข่ายได้เช่นเดียวกับระบบอื่น
ระบบปฏิบัติการแบบฝัง ( embedded OS )
ความหมาย
ระบบปฏิบัติการแบบฝัง ( embedded OS ) เป็นระบบปฏิบัติการที่พบเห็นได้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก เช่น พีดีเอหรือ Smart phone บางรุ่น สามารถช่วยในการทำงานของอุปกรณ์แบบไม่ประจำที่เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี เกิดขึ้นมาหลังสุดพร้อม ๆ กับที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาเหล่านี้ได้รับความนิยมมากขึ้น บางระบบมีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยวด้วย เช่น รองรับกับการทำงานทั่วไป ดูหนัง ฟังเพลงหรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ลักษณะการทำงาน
การทำงานของระบบปฏิบัติการดังกล่าว เป็นลักษณะที่ย่อขนาดการทำงานของ Windows ให้มีขนาดเล็กลงและกะทัดรัดต่อการใช้งานมากขึ้น (scaled-down version ) สามารถรองรับการทำงานแบบ multi-tasking ได้เช่นเดียวกันกับ OS ตัวอื่น ๆ เช่น ท่องเว็บหรือค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตไปได้พร้อม ๆ กับการฟังเพลงหรือตรวจเช็คอีเมล์ได้พร้อม ๆ กับการสร้างบันทึกช่วยจำ เป็นต้น ผู้ใช้ที่คุ้นเคยกับระบบปฏิบัติการของ Windows มาก่อนจะใช้งานได้ง่ายและสะดวกมาก เนื่องจากรูปแบบและหน้าต่างการทำงานจะคล้าย ๆ กัน ปัจจุบันอาจพบเห็นในโทรศัพท์มือถือประเภท Smart phone บางรุ่นบ้างแล้ว
ลักษณะของฮาร์ดเเวร์ที่ใช้
เครื่อง Pocket PC และโทรศัพท์มือถือบางรุ่น
เครื่องประเภท Palm
ในโทรศัพท์มือถือยี่ห้อ Nokia
ตัวอย่างระบบปฏิบัติการแบบฝัง ( embedded OS )
Pocket PC OS (Windows CE เดิม) บริษัทไมโครซอฟต์ ผู้ผลิตระบบปฏิบัติการยักษ์ใหญ่ที่มีความชำนาญจากการสร้างระบบที่ใช้สำหรับเครื่องพีซีมาก่อน ได้หันมาเน้นการผลิตเพื่อใช้งานร่วมกับการควบคุมในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กมากยิ่งขึ้น โดยสร้างระบบปฏิบัติการตัวใหม่ที่มีชื่อเรียกว่า Pocket PC OS (เดิมใช้ชื่อว่า Windows CE หรือ Windows Consumer Electronics แต่มีการตั้งชื่อใหม่นี้ในภายหลังซึ่งเริ่มตั้งแต่เวอร์ชัน 3.0 ขึ้นไป เพื่อให้ชื่อของระบบปฏิบัติการตัวดังกล่าวเหมือนกับชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กไปเลย)
Palm OS
เป็นระบบปฏิบัติการที่ถือได้ว่าเกิดขึ้นมาพร้อม ๆ
กันกับการนำเอาคอมพิวเตอร์แบบพกพามาใช้ในยุคแรก ๆ เรียกกันว่าเครื่อง Palm (
ผลิตขึ้นโดยบริษัทปาล์ม) ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา
เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นมาก่อน Windows CE หรือ Pocket PC OS ของไมโครซอฟต์
(เนื่องจากมีการผลิตเครื่องขึ้นมาใช้งานก่อนนั่นเอง)
ปัจจุบันอาจพบเห็นการนำเอาระบบนี้ไปใช้กับคอมพิวเตอร์แบบพกพาของค่ายบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์เทคโนโลยีชั้นนำ
นอกเหนือจากเครื่องของบริษัทปาล์มด้วย เช่น Visor
(ของค่ายแฮนด์สปริงซึ่งปัจจุบันรวมกิจการเข้ากับบริษัทปาล์มไปแล้ว) และ
CLIE (ของค่ายโซนี่ที่ยุติการผลิตไปแล้ว)
ซึ่งก็ใช้ระบบปฏิบัติการแบบนี้ด้วยเช่นกัน
Symbian OS
เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาเพื่อรองรับกับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย
(wireless ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโทรศัพท์มือถือประเภท Smart phone
นอกจากนั้นยังสนับสนุนการทำงานแบบหลาย ๆ งานในเวลาเดียวกันได้ด้วย
(multi-tasking )
ซึ่งทำให้โทรศัพท์มือถือมีความสามารถที่นอกเหนือจากแค่รับสายพูดคุยในแบบทั่วไปเพียงอย่างเดียว
เช่น การบันทึกการนัดหมาย ท่องเว็บ
ล่งและรับอีเมล์รวมถึงรับแฟกซ์ได้ในเวลาเดียวกัน ผลิตโดย บริษัทซิมเบียน
ซึ่งเป็นบริษัทที่ร่วมทุนระหว่างผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือรายใหญ่หลายค่าย
นำโดย Nokia และ Sony ปัจจุบันมีบริษัทยักษ์ใหญ่ต่าง ๆ ได้เอา OS
ชนิดนี้ไปใช้งานแล้วในโทรศัพท์มือถือของตน เช่น Sony Ericsson, Motorola,
Nokia และ Samsung เป็นต้น
Symbian OS
เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาเพื่อรองรับกับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย
(wireless ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโทรศัพท์มือถือประเภท Smart phone
นอกจากนั้นยังสนับสนุนการทำงานแบบหลาย ๆ งานในเวลาเดียวกันได้ด้วย
(multi-tasking )
ซึ่งทำให้โทรศัพท์มือถือมีความสามารถที่นอกเหนือจากแค่รับสายพูดคุยในแบบทั่วไปเพียงอย่างเดียว
เช่น การบันทึกการนัดหมาย ท่องเว็บ
ล่งและรับอีเมล์รวมถึงรับแฟกซ์ได้ในเวลาเดียวกัน ผลิตโดย บริษัทซิมเบียน
ซึ่งเป็นบริษัทที่ร่วมทุนระหว่างผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือรายใหญ่หลายค่าย
นำโดย Nokia และ Sony ปัจจุบันมีบริษัทยักษ์ใหญ่ต่าง ๆ ได้เอา OS
ชนิดนี้ไปใช้งานแล้วในโทรศัพท์มือถือของตน เช่น Sony Ericsson, Motorola,
Nokia และ Samsung เป็นต้น
แบบฝึกหัดบทที่
1
1.
ระบบปฏิบัติการคืออะไร
แตกต่างจากโปรแกรมประยุกต์อย่างไร
ตอบ- ระบบปฏิบัติการ คือ
ระบบคอมพิวเตอร์แทบทุกระบบถือว่าระบบปฏิบัติการเป็นส่วน
สำคัญของระบบ
โดยทั่วไประบบคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์
ระบบปฏิบัติการ โปรแกรม
ประยุกต์ และผู้ใช้
- โปรแกรมประยุกต์ คือ
ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ
เช่น
งานส่วนตัว งานทางด้านธุรกิจ งานทางด้านวิทยาศาสตร์ โปรแกรมทางธุรกิจ เกมส์ต่างๆ
ระบบฐาน
ข้อมูล ตลอดจนตัวแปลภาษา เราอาจเรียกโปรแกรมประเภทนี้ว่า User's
Program โปรแกรมประเภทนี้
โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงในการพัฒนา
2.
ทำไมเครื่องคอมพิวเตอร์จึงจำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการ
ตอบ เพราะว่าระบบปฏิบัติการเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้อุปกรณ์แต่ละชิ้นส่วนสามารถทำงานร่วมกันได้
เนื่องจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ไม่ได้ผลิตมาจากคนๆ เดียว
แต่ชิ้นส่วนแต่ละชิ้นมาจากคนจำนวน
มากที่เป็นผู้ผลิตขึ้นมา ฉะนั้นจะให้อุปกรณ์เหล่านี้ทำงานร่วมกันได้
ก็ต้องมีตัวกลางในการประสาน
งาน อย่าว่าแต่คอมพิวเตอร์เลย
ขนาดคนเรา ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามยังต้องมีคนกลาง หรือผู้ประสาน
งาน ไม่อย่างนั้นแล้วงานจะไม่มีทางไปในทิศทางเดียวกัน สรุปง่ายๆ
หากไม่มีระบบปฏิบัติการ
คอมพิวเตอร์ก็จะไม่ สามารถทำงานได้
เพราะอุปกรณ์แต่ละชิ้นไม่รู้จักกัน
3.
อะไรบ้างที่เป็นส่วนสนับสนุนปัจจัยให้นักพัฒนาระบบปฏิบัติการพัฒนารุ่นใหม่เพิ่มเติมขึ้นมาเรื่อยๆ
4.
ยกตัวอย่างโปรแกรม
เป็นระบบปฏิบัติการ
และโปรแกรมประยุกต์
ตอบ os วินโดว์ ลีนุกซ์
ไอโอเอส แมค โปรแกรม เวิร์ด เอ็กเซลล์ โฟโต้ชอป นีโร
5.สามารถแยกแยะออกได้ระหว่างระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องเดียว
และระบบ
ปฏิบัติการเครือข่าย
มีระบบการทำงานเป็นอย่างไร
ตอบ ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องเดียว
เป็นระบบปฏิบัติการที่มุ่งเน้นและให้บริการ
สำหรับผู้ใช้เพียงคนเดียว
(เจ้าของเครื่องนั้น ๆ)
นิยมใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่
ประมวลผลและทำงานแบบทั่วไป ระบบปฤบัติการเครือข่ายระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่
นิยมใช้กันมา
คือ Netware ของผลิตภัณฑ์ของ บริษัท Novell ที่ได้แนะนำ
สู่ตลาดใน
ค.ศ. 1983 เป็นระบบปฏิบัติการของ
ระบบเครือข่ายท้องถิ่น
6.
แสดงความคิดเห็นว่า
แนวโน้มการพัฒนาระบบปฏิบัติการจะเป็นอย่างไร
ตอบ ลีนุกซ์กำลังเป็นระบบปฏิบัติการที่มีแนวโน้มว่าจะได้รับความนิยมและใช้งาน
เพิ่มขึ้น เป็นระบบที่บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์หลายบริษัทอาทิ IBM, Compaq, Shape
Electrics
เสนอเป็นตัวเลือกแก่ลูกค้าที่ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์
นอกจากนั้นผู้ที่สนใจ
ติดตามข่าวใน เรื่องการนำลีนุกซ์ไปใช้งาน
จะได้รับข่าวสารมากมายของบริษัทขนาด
ใหญ่หลายบริษัทที่ หันมาใช้ลีนุกซ์อย่างจริงจัง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น